...ยินดีต้อนรับท่านสู่...โครงการของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...จังหวัดนครศรีธรรมราช...ภายใต้การบริหารจัดการ..ของ...นายมนัส ชุมทอง...ปศุสัตว์อำเภอพรหมคีรี...

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์

มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์
๑. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
๒. ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต
๓. ให้บริการด้วยความเสมอภาค
๔. มีความมุ่งมั่นในผลสำเร็จของงาน
๕. ยึดมั่นในหลักคุณธรรม
๖. ดำรงชีพอย่างเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี
๗. รักษาชื่อเสียงของกรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์หนุนเกษตรกร “หยุดภัยไข้หวัดนก ไม่เลี้ยงไก่แบบปล่อย”

กรมปศุสัตว์หนุนเกษตรกร “หยุดภัยไข้หวัดนก ไม่เลี้ยงไก่แบบปล่อย” (153/2552) นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย กรมปศุสัตว์จึงเตือนให้เกษตรกรร่วมใจในการป้องกันภัยโรคไข้หวัดนก ด้วยการไม่เลี้ยงไก่แบบปล่อย นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย กรมปศุสัตว์จึงเตือนให้เกษตรกรร่วมใจในการป้องกันภัยโรคไข้หวัดนก ด้วยการไม่เลี้ยงไก่แบบปล่อย ซึ่งการไม่เลี้ยงไก่แบบปล่อยเป็นวิธีง่ายๆ ที่ได้ผลและไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงแต่อย่างใด โดยมีการกำหนดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก โดยให้แยกออกจากที่อยู่อาศัยของคน เพื่อสุขอนามัยที่ดีขึ้น เพราะหากเกษตรกรสามารถดูแลตนเอง และสัตว์ปีกให้มีสุขภาพดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้หวัดนกได้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เน้นย้ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการเลี้ยงไก่แบบไม่ปล่อย เพื่อให้การหยุดภัยไข้หวัดนกเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังให้เกษตรกรได้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ปีกพื้นเมืองอย่างถูกวิธี อาทิ เลี้ยงไก่ในเล้า ทำตาข่ายป้องกันนก แยกสัตว์ปีกออกจากที่อยู่อาศัยของคน มีน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตรงประตูทางเข้า - ออกพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้จัดทำฟาร์มสาธิตต้นแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างการเลี้ยงไก่พื้นเมืองทั่วประเทศให้เข้าสู่ระบบการเลี้ยงที่มีความปลอดภัยจากไข้หวัดนก ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถเลี้ยงสัตว์ปีกได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อสัตว์ปีกมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคสัตว์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดี มีปริมาณมากขึ้น เกษตรกรสามารถนำสัตว์ปีกมาบริโภค และเหลือจำหน่ายในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งสามารถสร้างเกษตรกรให้เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคได้อีกด้วย